ทำไมถึงมาเป็น"TCAS"
เพราะที่ผ่านมามหาวิทยาลัยพบปัญหาในการรู้ยอดนักศึกษาที่แท้จริงในการรับนักศึกษาในแต่ละปี เพราะนักเรียนที่ยืนยันสิทธิ์เข้ามาแม้จะทำการชำระเงินยืนยันสิทธิ์แล้ว แต่ก็ยังสามารถไปสมัครสอบมหาวิทยาลัยอื่นๆได้ ทำให้ในบางมหาวิทยาลัยมียอดนักศึกษาเรียนไม่เต็มจำนวนรวมถึงนักเรียนที่โดนกั๊กสิทธิ์กั๊กที่เรียน เพราะมีนักเรียนจำนวนหนึ่งที่สอบติดหลายๆที่ ยืนยันสิทธิ์ กั๊กสิทธิ์กั๊กที่เรียนไว้ รวมถึงปัญหาการวิ่งรอกในการสอบตลอดทั้งปีการศึกษาของชั้นมัธยมปีที่6 และการใช้จ่ายที่ต้องหมดไปกับค่าสมัครสอบ ค่าเดินทางสอบ รวมถึงค่าที่พักในกรณีที่ต้องไปสอบในต่างจังหวัด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมีความได้เปรียบเสียเปรียบกันเกิดขึ้น
ถึงแม้ที่ผ่านมา ทปอ.(ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) จะพยายามแก้ปัญหาเหล่านี้แล้ว ทั้งการออกระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ และวิชาสามัญ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ เพราะตัวแปรที่สำคัญสุดในเรื่องนี้ก็คือมหาวิทยาลัยยังไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร เพราะยังมีหลายมหาวิทยาลัยที่ไม่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮ้าส์ หรือแม้จะเข้าร่วมก็ไม่ครบทุกโครงการ
ทำให้ทุกอย่างต้องถูกจัดระเบียบเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว นั่นจึงเป็นที่มาของระบบคัดเลือกใหม่นั่นก็คือ “การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง Thai University Central Admission System (TCAS) ปีการศึกษา 2561”
“ระบบใหม่ไม่ได้ใช้ชื่อ Entrance 4.0”
ชื่อระบบ Entrance 4.0 ทุกคนน่าจะคุ้นชื่อนี้เป็นอย่างดี จนหลายๆคนคิดว่าชื่อนี้เป็นชื่อระบบใหม่อย่างเป็นทางการไปแล้ว แต่พี่แฮนด์บอกเลยครับว่าระบบไม่ได้ใช้ชื่อนี้เลย ชื่อนี้มาจากการตั้งของสื่อต่างๆ ซึ่งน่าเริ่มมาจากตอนแรกๆที่มีข่างเรื่องระบบใหม่ออกมาว่า จะเป็นการสอบครั้งเดียว มีข้อสอบใหม่ ยกเลิกแอดมิชชัน ทำให้คนเข้าใจว่านี่คือการกลับมาของเอนทรานซ์ในรูปแบบใหม่ในยุค 4.0 นั่นเอง
เพราะฉะนั้นอย่าเข้าใจผิดว่าชื่อ Entrance 4.0 ชื่อนี้เป็นชื่อทางการของระบบการรับเข้าในปี 61 นะครับ โดยชื่อเต็มๆจริงๆก็คือ “การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง Thai University Central Admission System (TCAS) ปีการศึกษา 2561” เรียกสั้นๆว่าTCAS
หลักการของระบบใหม่
หลักการหลักๆของระบบใหม่ที่ ทปอ. แจ้งมาจะมีดังนี้
1.นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2.นักเรียนแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการตอบรับในสาขาวิชาที่เลือก สามารถสละสิทธิ์ภายในระยะเวลาที่กำหนด
3.สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ. ทุกแห่งจะเข้าระบบ Clering house เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ ของนักเรียน
ซึ่ง 3 หลักการนี้ก็คือการแก้ปัญหาที่ผ่านมานั่นเอง โดย ในข้อที่ 1 นั้น ทาง ทปอ. ต้องการให้นักเรียนอยู่ในห้องเรียนตลอดปีการศึกษาของชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ไม่ต้องสอบตลอดเหมือนปีที่ผ่านมา โดยการสอบต่างๆของ dek61 จะถูกจัดสอบหลังจบ ม.6 เท่านั้น ไม่มีการสอบระหว่างภาคเรียน เพื่อให้น้องๆมีสมาธิในการเรียนในชั้นเรียนอย่างเต็มที่ไต้องพะว้าพะวงรวมถึงไม่ต้อง วิ่งรอกไปสอบต่างๆ ทำให้เหนื่อยและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นมาเพราะถ้าใครที่มีเงินเยอะกว่าก็สามารถจะสมัครได้มากกว่า มีสิทธิ์ติดเยอะกว่า
ส่วนในข้อที่ 2 และ ข้อที่ 3 ก็คือการแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ ในเรื่องการกั๊กที่เรียนและการรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เพราะทุกมหาวิทยาลัยของ ทปอ.จะต้องเข้าร่วมเคลียริ่งเฮ้าส์ทั้งหมด ทำให้นักเรียนที่สอบติดในแต่ละรอบต้องตัดสินใจเลยว่าจะยืนยันสิทธิ์เลยหรือไม่ ถ้ายืนยันสิทธิ์ก็จะไม่สิทธิ์สมัครสอบในรอบถัดไป
การทำอย่างนี้จะทำให้ไม่มีเด็กที่จะกั๊กที่เรียนได้และมหาวิทยาลัยก็จะทราบจำนวนที่จะรับในแต่ละรอบอย่างชัดเจน
เคลียริ่งเฮ้าส์คืออะไร?
มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเคลียริ่งเฮ้าส์กันก่อนนะครับ เพราะถือว่าเป็นหัวใจหลักเลยในการเปลี่ยนแปลงระบบการรับเข้าในครั้งนี้ เคลียริ่งเฮ้าส์คือระบบครับ เป็นระบบที่ใช้ยืนยันสิทธิ์รับตรงร่วมกันของมหาวิทยาลัย หรือถ้าจะให้จำง่ายๆคือเป็นระบบ เคลียคนกั๊ก(ที่เรียน) นั่นเอง เพราะที่มาของระบบนี้ก็คือต้องการกำจัดคนที่ชอบกั๊กที่เรียนให้หมดไปเพราะที่ผ่านมา ในการรับตรง คนที่มีพลังเยอะก็จะตะเวณสอบๆๆๆ และพอสอบติดๆๆๆขึ้นมา ก็จะทำการยืนยันสิทธิ์แต่ละมหาวิทยาลัยที่สอบติดไว้ก่อน แล้วค่อยมาเลือกทีหลังว่าจะเรียนที่ไหน การทำอย่างงี้เกิดอะไรขึ้นครับ ก็เกิดการกั๊กที่เรียนขึ้นมานั่นเอง บางคนสอบติดเป็น 10 ที่ ยืนยันทั้ง 10 ที่ ก็เท่ากับเป็นการกั๊กที่เรียนคน 10 คนแล้ว อีกทั้งมหาวิทยาลัยก็จะไม่รู้จำนวนจริงๆว่าจะมีเด็กเข้ามาศึกษากี่คน เพราะบางคนทำแค่กั๊กที่ไว้ ไม่ได้อยากเข้ามาเรียนจริงๆ
เพราะอย่างงี้จึงเกิดระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ขึ้นมา ซึ่งระบบนี้เริ่มใช้ครั้งแรกในรุ่นแอดมิชชันปี 55 ถ้าเป็นเมื่อก่อนก่อนหน้าในปี 61 ก็จะเป็นแบบว่า ให้นักเรียนสอบไปเถอะครับมหาวิทยาลัย สอบรับตรงได้หมดทุกโครงการ แต่พอสอบติดแล้ว ถ้าโครงการนั้นเข้าร่วมเคลียริ่งเฮ้าส์ นักเรียนก็จะยังยืนยันสิทธิ์ไม่ได้ทันที นักเรียนต้องถือสิทธิ์รอไว้ แต่ก็สามารถสอบมหาวิทยาลัยอื่นๆได้เรื่อยๆ สอบติดอีก ก็เก็บสิทธิ์ไว้ ไว้พอถึงช่วงที่เค้า(เค้าคือ ทปอ. ) เปิดให้ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ นักเรียนถึงได้ยืนยันสิทธิ์ครับ สมมติน้องๆนักเรียนติด 5 ที่ นักเรียนก็สามารถเลือกยืนยันสิทธิ์ได้เพียงแค่ที่เดียวเท่านั้น พอยืนยันแล้ว น้องๆนักเรียนก็จะโดนตัดสิทธิ์แอดมิชชั่นทันที
สรุปก็คือช่วงก่อนหน้านี้การยืนยันสิทธิ์ในรอบเคลียริ่งเฮ้าส์จะตัดสิทธิ์แอดมิชชัน แต่ในปี 61 น้องๆจะต้องยืนยันสิทธิ์ทุกรอบที่สอบติด และโดนตัดสิทธิ์ในทุกรอบถัดไป ไม่ได้โดนตัดสิทธิ์เฉพาะแอดมิชชันอย่างเดียวนะครับ เพื่อเป็นไปหลักการสำคัญในระบบใหม่นั่นก็คือ “ นักเรียนแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์” นั่นเอง
ปี 61 ต้องสอบอะไรบ้าง
ในช่วงแรกที่มีข่าวระบบใหม่ออกมา จะได้ยินนะครับว่าข้อสอบที่จะใช้ในปี 61 นั้น จะเป็นข้อสอบแบบใหม่ สอบครั้งเดียวรู้เรื่องไปเลย แต่จากการแถลงข่าวของ ทปอ.เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ก็ยอมรับว่าไม่สามารถบูรณาข้อสอบแบบใหม่ได้ทัน คาดว่าจะสำเร็จเสร็จทันในปีรับเข้านักศึกษาปี 2562 เพราะฉะนั้นในปี 2561 ยังคงจะใช้ข้อสอบแบบเดิมอยู่นั่นก็คือ GAT PAT / O-NET / วิชาสามัญ / ข้อสอบวิชาเฉพาะต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆจากที่ผ่านมาก็คือ
1.การสอบทั้งหมด จะถูกจัดสอบหลังจบ ม.6 เท่านั้น ในช่วงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 12 เมษายน 2561 เท่านั้น
โดยแต่ละข้อสอบจะจัดสอบในช่วงวันดังนี้
GAT - PAT สอบวันที่ 24 - 27 กุมภาพันธ์ 2561
O-NET 3 - 4 มีนาคม 2561
วิชาสามัญ 17-18 มีนาคม 2561
วิชาเฉพาะ(ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับการจัดสอบของ สทศ. เช่น กสพท เป็นต้น ) จัดสอบโดย กลุ่ม/มหาวิทยาลัย
จัดสอบระหว่าง 24 กุมภาพันธุ์ 2561 - 12 เมษายน 2561 โดย กสพท จัดสอบวันที่ 10 มีนาคม 2561
2.การสอบ GAT และ PAT ในปีก่อนหน้านี้จะมีการจัดสอบทั้งหมด 2 รอบ/ปีการศึกษา แต่ตั้งแต่ปีหน้าจะมีการสอบเพียงครั้งเดียวนะครับ เพราะฉะนั้นน้องๆต้องเตรียมสอบให้ดี วางแผนการสอบให้ดี
ค่าสมัครสอบ
GAT - PAT - วิชาละ 150 บาท
O-NET - ไม่เสียค่าสมัคร
วิชาสามัญ - วิชาละ 100 บาท
วิชาเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย - มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนด
กสพท - 800 บาท
จำนวนรับศึกษาในปี 2561
รอบที่ 1 72,613 คน
รอบที่ 2 85,436 คน
รอบที่ 3 59,167คน
รอบที่ 4 35,836
รอบที่ 5 26,042คน
รวมทั่งสิ้น 278,644 คน
จำนวนสถาบันที่เข้าร่วมและจำนวนที่เปิดรับ
มหาวิทยาลัยสมาชิก ทปอ.
1จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
4มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6มหาวิทยาลัยทักษิณ
7มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
8มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
9มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
10มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
11มหาวิทยาลัยนครพนม
12มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
13มหาวิทยาลัยนเรศวร
14มหาวิทยาลัยบูรพา
15มหาวิทยาลัยพะเยา
16มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
17มหาวิทยาลัยมหิดล
18มหาวิทยาลัยแม่โจ้
19มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
20มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
21มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
22มหาวิทยาลัยศิลปากร
23มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
24มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
25สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยสมทบ
26กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
27มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
28ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฎ
29มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
30มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
31มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
32มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
33มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
34มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
35มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
36มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
37มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
38มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
39มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
40มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
41มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
42มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
43มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
44มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
45มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
46มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
47มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
48มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
49มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
50มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
51มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรรณี
52มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
53มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
54มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
55มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
56มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
57มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
58มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
59มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
60มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
61มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
62มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
63มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
64มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
65มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
66มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
67มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
68มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
69มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
70มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
71มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
72มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
1จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
4มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6มหาวิทยาลัยทักษิณ
7มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
8มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
9มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
10มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
11มหาวิทยาลัยนครพนม
12มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
13มหาวิทยาลัยนเรศวร
14มหาวิทยาลัยบูรพา
15มหาวิทยาลัยพะเยา
16มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
17มหาวิทยาลัยมหิดล
18มหาวิทยาลัยแม่โจ้
19มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
20มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
21มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
22มหาวิทยาลัยศิลปากร
23มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
24มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
25สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยสมทบ
26กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
27มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
28ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฎ
29มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
30มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
31มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
32มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
33มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
34มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
35มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
36มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
37มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
38มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
39มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
40มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
41มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
42มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
43มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
44มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
45มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
46มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
47มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
48มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
49มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
50มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
51มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรรณี
52มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
53มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
54มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
55มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
56มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
57มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
58มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
59มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
60มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
61มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
62มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
63มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
64มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
65มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
66มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
67มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
68มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
69มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
70มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
71มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
72มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
อ้างอิงข้อมูลจากเว็๋บ (http://m.eduzones.com/content.php?id=183315)
0 Comment to "สับสนงุนงงไม่เข้าใจ เชิญทางนี้กับข้อมูลแบบเจาะลึกของระบบ TCAS! "
แสดงความคิดเห็น